อ่างเก็บน้ำห้วยลำพอก ตำบลยาง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ เป็นอ่างเก็บน้ำที่มีขนาดใหญ่ กักเก็บน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ในหน้าแล้งและหน้าฝน แหล่งน้ำที่เปรียบดั่งเส้นเลือดหล่อเลี้ยงชีวิตของคนในพื้นที่ทำให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลกุดหวาย ตำบลระเวียง ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ได้รับประโยชน์ร่วมกัน

อ่างเก็บน้ำลำพอกแหล่งน้ำเต็มไปด้วยผักตบชวาที่เขียวขจี ใบบัวที่ปกคลุมน้ำพร้อมกับดอกบัวสีขาว สีชมพูอ่อนที่กำลังเบ่งบาน ผักบุ้งริมน้ำ และดอกไม้สีเหลืองทองที่อยู่กลางน้ำ ฉันยืนมองดูผู้คนที่ริมน้ำ มองเห็นผู้ชาย 3 คนที่นั่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับฉันในมือถือเบ็ดตกปลา และนั่งสูบบุหรี่ไปด้วย “คงรอปลากินเยื่อสินะ” ฉันพูด ตอนนี้เวลา 17:35 น. แสงอาทิตย์ยามเย็นที่เริ่มเบาบางลง นกเริ่มบินกลับรัง ทุงหญ้พริ้วไหวตามสายลมอ่อน ๆ ที่พัดผ่าน ทำให้รู้สึกเย็นสบาย ท่ามกลางอากาศดี ๆ ที่บริสุทธิ์ 

ฉันมองเห็นผู้ชายวัยประมาณ 30  ใส่หมวกสีแดงกำลังขี่มอเตอร์ไซต์มาทางฉัน เขาจอดห่างจากฉันเพียงเล็กน้อย พร้อมกับมองหน้าฉันด้วยสีหน้าที่งุนงง เขาคงคิดในใจว่าผู้หญิงวัยละอ่อนอย่างฉันมาทำอะไรตรงนี้ ในช่วงเวลาที่พระอาทิตย์พร้อมจะลับขอบฟ้า เขาไม่พูดอะไรเดินไปพร้อมถังน้ำที่มีหูหิ้วสีชมพูที่ว่างเปล่า พร้อมเดินไปยังเรือไม้ขนาดเล็กที่จอดทิ้งไว้แล้วไขกุญแจที่ล็อกเรือ เดาได้เลยว่าเขาคือเจ้าของเรืออย่างแน่นอน ฉันมองดูเขาเอาเรือออกพร้อมกับท่าทางที่ชำนาญ ใช้แค่ไม้ไผ่ที่มีขนาดยาวในการออกเรื่อและเคลื่อนตัวออกไป ฉันได้แต่มองการกระทำของเขาอย่างไม่คลาดสายตา เรือออกไปได้ไม่ไกลมากนัก ฉันสังเกตเห็นเขาก้ม ๆ เงย ๆ ถึงได้เข้าใจว่า เขากำลังเก็บปลาที่ไปดักไว้ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ใส่มองหาปลา” คือการเอาตาข่ายมอง ลงไปในน้ำเพื่อรอให้ปลามาติดกับมองตาขาย มองเหตุการณ์นี้แล้วทำให้ฉันนึกถึงบทเพลงที่ร้องว่า “ใส่ใจได้แค่มอง ใส่มองได้ทั้งปลา” 

แสงจากดวงอาทิตย์เริ่มเจือนจางหายไปทีละนิด ทำให้ฉันมองเห็นเพียงแค่เงาของผู้คนที่อยู่กลางอ่างเก็บน้ำลำพอก บางคนก็เริ่มขึ้นฝั่ง บางคนก็ยังคงอยู่กับเบ็ดตกปลา บางคนยังคอยู่บนเรือยืนดึงมองที่ดักปลาไว้เพื่อทำการนำปลาขึ้นฝั่ง จุดหมายของทุกคนคืออาหารมื้อเย็นหรืออาหารในมื้อถัดไป

เช้าวันถัดมาที่ท้องฟ้าสดใส เนื่อด้วยเพิ่งผ่านค่ำคืนแห่งพายุฝนมา อย่างที่ว่า ฟ้าหลังฝน ย่อมสวยงามเสมอ ฉันมีโอกาสได้พูดคุยเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่อาศัยติดริมอ่างลำพอก ในช่วงเวลา บ่าย 3 จะออกเรือไปใส่กุ้งฝอย และใส่มองดักปลาไว้ โดยจะมีอุปกรณ์ มอง หรือ ตาข่ายใส่ปลา และสุมจับปลา คือ เครื่องใช้สำหรับครอบ สานด้วยไม้ไผ่ จะเสร็จในช่วง 6 โมงเย็น หรือตั้งแต่ช่วงที่แดดแก่ ๆ ไปจนถึงตอนที่ท้องฟ้าเริ่มมืดสลัวในช่วงใกล้พลบค่ำ เพียงชั่วพริบตาค่ำคืนที่มีเพียงแสงของดวงจันทร์ และแสงจากไฟฉาย ในช่วงเวลา ตี 3 ต้องตื่นไปยกกุ้งที่ใส่ไว้ พร้อมกับการหาเก็บหอยไปด้วย เพราะในยามรุ่งเช้า จะมีคนในมู่บ้านมารับไปขายต่อ มีทั้งนำไปขายและเก็บไว้กินเอง

ผู้คนในพื้นที่นอกจากทำการหา กุ้ง หอย ปู ปลา ในช่วงเช้าจะไปเก็บดอกบัว และจะมีนายหน้ามารับเพื่อไปขายต่อ ในช่วงหน้าแล้งของทุกปีชาวบ้านจะทำการหว่านแห่หาปลากันที่อ่างลำพอก นอกจากนี้ชาวบ้านยังนิยมการเลี้ยงกระบือหรือควาย เนื้อด้วยเป็นบริเวณที่มีแหล่งน้ำเวลาอากาศร้อน ควายชอบลงไปนอนแช่ในแอ่งน้ำ หรือปลักโคลน เพราะเป็นสัตว์ที่ทนร้อนไม่ค่อยได้ การเลี้ยงควายของชาวบ้านจะเป็นการเลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติให้ควายได้ลงน้ำหาเล็มกินหญ้าเอง จนเรียกขานกันว่า “ควายน้ำ” และเมื่อถึงยามเย็นชาวบ้านก็จะไปนำควยกลับเข้าคอกคืน

อ่างลำพอกที่มีการระบายน้ำผ่านทางลำคลองในช่วงหน้าฝน และเพื่อการเกษตร วิวท้องทุ่งที่กำลังอยู่ระหว่างการเตรียมเพื่อการปักดำ กลิ่นหญ้าและท้องทุ่งนา บวกกลิ่นอายดินหอมๆ ต้นกล้าสีเขียวอ่อน ๆ ที่กำลังขึ้น ทุ่งนาที่เต็มไปด้วยน้ำขังที่ชาวบ้านสูบเข้าไร่นา นำรถไถนามาใช้เป็นเครื่องสูบน้ำ ต่อท่อน้ำไปตามไร่นา เพื่อนำต้นกล้ามาปักดำนา ใช้น้ำรดพืชผัก และมีชาวนาที่กำลังจดจ่อกับการก้มดำนาหน้าแบบหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน   

ในช่วงหน้าฝนน้ำจากอ่างลำพอกจะเพิ่มขึ้นสูงถึงขั้นท่วมไร่นา ทำให้การทำนาปีไม่ค่อยได้ผลมากนัก ชาวบ้านในพื้นที่จึงทำนาปรังเนื่องด้วยมีแหล่งน้ำอยู่ใกล้พื้นที่ แต่ในสถานการ์ปัจจุบันที่ค่าให้จ่ายพุ่งขึ้นสูงอย่างเห็นได้ชัด ชาวไร่ชาวนาที่ต้องแบบกรับต้นทุนที่สูงและได้ผลกำไรน้อย ไม่ว่าจะเป็นค่าปุ๋ย ค่ารถไถ แม้ว่ามีต้นทุนที่สูง แต่ก็ต้องทำนาต่อไป เหมือนเป็นสิ่งที่ปฏิบัติและสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน

 “บ้านเฮามันกะส่ำนิละ บ่เอ็ดไฮ่นาสิเฮ็ดหยัง”