เหตุการณ์รับน้องในมหาวิทยาลัย

“ฟ้ารู้สึกว่ามันใช้ความรุนแรง การรับน้องรุนแรงมาก สำหรับฟ้ารู้สึกว่ามันไม่ควรที่จะเป็นอย่างนี้ เราไปเรียนเป็นนักบิน เราอยากจะขับเครื่องบิน แต่วันๆถูกรุ่นพี่ทำโทษ สั่งให้เราทำอะไรที่เป็นการทำร้ายร่างกายตัวเอง มันไม่ได้ส่งเสริมการเป็นนักบินเลย”

นักแสดงสาว ฟ้า ยงรวี งามเกษม ได้ออกมาพูดเกี่ยวกับการเป็นนักเรียนนักบินที่ประเทศไทย จนเกิดเป็นกระแสเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงในระบบรับน้องที่ยังไม่หายไปจากสถาบันการศึกษาไทย อีกทั้งยังไม่รวมคนที่ไม่มีชื่อเสียงที่ต้องมาเจอการรับน้องที่โหดร้าย เพราะฟ้า ได้อธิบายการรับน้องว่าถูกรุ่นพี่สั่งวิดพื้นตากแดด กลางถนนร้อนๆจนมือพุมือพอง บางคนถ้าไม่ป่วย ไม่เป็นลม ไม่หอบ ก็ไม่ให้หยุด และยังโดนให้ใช้น้ำยาขัดรองเท้ามาทาผมจนกว่าผมจะเป็นสีดำ จนทำให้เธอตัดสิfใจลาออกจากการเป็นนักบินและเลือกที่จะไปเรียนต่อต่างประเทศ

ในคอมเมนต์วิดีโอมีคนมาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก และมีเมนต์หนึ่งแสดงความคิดว่า เพื่อนเขาที่เป็นนักบินก็ถูกรับน้องลักษณะคล้ายกันกับฟ้า ได้แต่อดทนเพราะมีความฝันที่อยากจะเป็นนักบินและแน่นอนว่าอีกหนึ่งเหตุผลที่ต้องอดทน เพราะค่าเทอมการเป็นนักบินไม่ใช่น้อยๆ การที่จะเป็นนักบินได้ต้องมีเงินประมาณ 2 ล้านบาทขึ้นไปหรือมากกว่านั้น ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพราะการเป็นนักบิน ไม่ใช่แค่สอบเข้ามหาลัยนักบินแล้วจะได้เป็นนักบินเลย ต้องมีการสอบใบรับรองต่างๆและแน่นอนว่าการสอบต้องใช้เงินหลักแสนและยังต้องใช้เวลาในการฝึกฝนการเป็นนักบินอย่างน้อย 10 ปี เราถึงจะได้เป็นนักบินอย่างเต็มตัว

ระบบรับน้องหรือระบบโซตัส sotus  แต่ก่อนเรามักนิยมใช้กันในสถาบันการศึกษาและเราให้คำนิยามว่าเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมา เมื่อเราตั้งคำถามกับระบบเหล่านี้ คนก็มักจะตอบว่ามันคือประเพณีที่จะทำให้รุ่นพี่กับรุ่นน้องได้รู้จักกันมากขึ้น แต่แท้ที่จริงแล้วก็เป็นแค่ระบบที่ใช้อำนาจกดขี่คนอื่นเพื่อความสนุก สุดท้ายก็มีเสียชีวิตกับประเพณีนี้ คำถามคือระบบนี้เริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ตามข้อมูลจากเว็บไซต์ thetsis พบครั้งแรกในช่วงสงครามเย็น อยู่ในช่วงที่ไทยก่อตั้งมหาวิทยาลัย ส่งนักเรียนไปศึกษาต่อต่างประเทศ กลุ่มนักเรียนที่ส่งไปจบการศึกษากลับมาพร้อมกับความคิดในการรับน้องใหม่ ซึ่งประกอบไปด้วยระบบการว๊าก และการลงโทษ โดยสถาบันแห่งแรกที่มีการนำโซตัสรูปแบบใหม่มาใช้นั้น คือ “โรงเรียนป่าไม้แพร่” ที่มีการผลิตนักเรียนเพื่อเข้าเป็นนิสิตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในเวลาต่อมาโรงเรียนป่าไม้แพร่ พัฒนากลายเป็นมหาวิทยาลัยแม่โจ้ หรือจากห้องสมุดภาควิชาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีการพบโคลงโซตัสซึ่งเป็นโคลงสี่สุภาพที่พบในหนังสือเฟรชชี่รุ่นโบราณทำให้เชื่อว่า เป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นต้นกำเนิดของระบบโซตัสขึ้นมาครั้งแรก จึงมีความเป็นไปได้ว่าในช่วงเวลานี้ มหาวิทยาลัยหลายแห่งได้นำคำว่า “โซตัส” เข้ามา

แน่นอนว่าหลักฐานที่อ้างอิงมาจะมาเป็นคำตอบหักล้างความรุนแรงในประเทศไทยได้ เพราะในวัฒนธรรมเราก็มักมีคำสอนที่ใช้ความรุนแรง ยกตัวอย่างเช่น คำสอนสุภาษิต  รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี ความรุนแรงมันเริ่มจากพื้นฐานครอบครัว เมื่อไหร่ที่พ่อแม่ตีเรา ก็จะบอกว่าเป็นพ่อแม่ อายุเยอะกว่าจะตีก็ลูกยังไงก็ได้ หรือแม้กระทั่งในละคร หรือซีรีส์ก็มักจะมีฉากที่รุ่นพี่ชอบทำร้ายรุ่นน้องและรุ่นน้องต้องยอมเพราะคำว่า เป็นรุ่นน้องต้องเคารพรุ่นพี่

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เราเห็นว่า ระบบโซตัสยังไม่ได้หายไปจากสถาบันการศึกษาไทย ยังมีสถาบันอื่นใช้ระบบนี้เป็นข้ออ้างในการ กลั่นแกล้ง ทำร้ายร่างกายผู้อื่น ถึงจะบอกว่าเป็นประเพณีที่จะทำให้รุ่นน้องได้รู้จักรุ่นพี่ แต่ความจริงแล้วระบบนี้คือการมอบอำนาจให้คนๆหนึ่งมากำหนดชีวิตเราให้ทำตามอย่างที่เขาต้องการ ในกรณีที่เกิดขึ้นกับนักแสดงสาวที่ทนไม่ได้แล้วลาออกไป แล้วคนอื่นที่ต้องทนเรียนอยู่ต่อเพราะพื้นฐานครอบครัวไม่ได้มีเงินหรือมีชื่อเสียงอย่างนักแสดงหญิงคนนี้ เขาต้องใช้ชีวิตอย่างไรในระบบความรุนแรงเช่นนี้

“รุ่นพี่ผู้ชายคนหนึ่งเดินออกมาชี้หน้าฟ้าแล้วพูดว่า คนอย่างมึงเป็นนักบินไม่ได้หรอก ถ้าเป็นนักบินได้ ให้กลับมาเตะหน้ากูได้เลย เราตั้งคำถามจนถึงทุกวันนี้ ว่าการจะเป็นนักบินมันต้องขนาดนั้นเลยหรอ จนกระทั่งย้ายมาที่เรียนนักบินอยู่ อเมริกาเขาไม่มีประเพณีอะไรแบบนั้นเลย เขาไม่มีการรับน้องหรือความรุนแรงอะไรทั้งสิ้น มาเรียนเป็นนักบินจริงๆ  ได้เรียนบินจริงๆ วันๆมีแต่อ่านหนังสือสอบแล้วก็เรียนบินมีแค่นี้เลย รู้สึกว่าการเรียนนักบินมันไม่ต้องผ่านการรุนแรงอะไร ทุกอย่างมันใช้ความรู้ความสามารถนะคะ”

อ้างอิง